สมัยพุทธกาล เมื่อ 2552 ปีมาแล้ว บรมครูชีวกโกมารภัจจ์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ด้านการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จนได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า และเป็นแพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสาร  การแพทย์ในยุคนั้นรุ่งเรืองเรื่อยมาสู่ยุคขอม สุโขทัย อยุธยา จนกระทั่ง ในช่วงต้นและกลางรัตนโกสินทร์  การแพทย์แผนตะวันตกเริ่มเผยแพร่และมีอิทธิพลเข้ามา การแพทย์แผนไทยจึงได้ลดความนิยมลงไปเรื่อย ๆ  ต่อมามีผู้เห็นคุณค่าของ การแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นมรดก – ภูมิปัญญาอันล้ำค่าของประเทศไทย เกรงว่าจะสูญหายไปจึงได้เริ่มกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง

ในปี 2500 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 มรดกทางการแพทย์แผนไทยนี้สมควรได้รับการรักษาและพัฒนาให้เป็นที่ประจักษ์  ด้วยเหตุนี้ บรรดาคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จึงได้รวบรวมเนื้อหาวิชาการด้านแพทย์แผนไทย และจัดตั้ง
โรงเรียนภัทรเวชสยาม (การแพทย์แผนไทย) โดยการรับรองของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาด้านการแพทย์แผนไทยโดยมีปณิธานที่มุ่งมั่น พัฒนา รักษา ภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชาติไทยสืบทอดให้ลูกหลานคนไทยต่อไป